วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

แนะนำ การเลือก ซื้อ กลองชุด ยี่ห้อ รุ่น อะไรดี / แนะนำ กลองชุด GRTESCH DRUM คุณภาพดี

แนะนำ การเลือก ซื้อ กลองชุด ยี่ห้อ รุ่น อะไรดี / แนะนำ กลองชุด GRTESCH DRUM คุณภาพดี          

  ถ้าคุณกำลังมองหา หรือ กำลังตัดสินใจซื้อกลองชุด สิ่งที่ควรให้ความสำคัญ (ถ้าพิจาณาจากคุณภาพเป็นหลัก)  สามารถแบ่งพิจารณาได้เป็น  2 ส่วน หลักๆ คือ

 " เสียง และ ความทนทาน "



1. คุณภาพเสียงของกลอง

      ถามว่าเสียงกลองจะดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง (ไม่พูดถึงการจูนเสียงกลองหรือความสามารถในการตี เพราะเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ไม่ใช่ส่วนของอุปกรณ์)  " ไม้ " ที่ถือว่าเป็น ปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะบอกว่า กลองชุดนั้น เสียงจะเป็นอย่างไร  ซึ่งเช่นเดียวกับเครื่องดนตรี Acoustic อื่นๆ เช่น กีต้าร์โปร่ง หัวใจสำคัญของกีต้าร์ก็อยู่ที่ตัวไม้ที่ใช้ผลิต สายกีต้าร์จะมีส่วนอยู่บ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อย

การเลือกซื้อกลองชุด จึงควรให้ความสำคัญกับ " ไม้ที่ใช้ผลิต "  ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่า ระดับของกลองชุดนั้นๆว่าอยู่ในระดับคุณภาพดี หรือธรรมดา  ไม้ที่นิยมนำมาใช้ผลิตกลองระดับเริ่มต้น (ที่มีคุณภาพดี มาตราฐาน) ได้แก่ ไม้ HAMOGANY  ซึ่งเป็นไม้ที่นิยมนำมาผลิตกลองชุดมากที่สุด ไม้ชนิดต่อมาที่นำมาใช้ผลิตกลองชุด ได้แก่ ไม้ BIRCH ซึ่งกลองชุดที่ผลิตจากไม้ชนิดนี้จะมีราคาที่สูงกว่ากลองที่ทำมาจากไม้ MAHOGANY และ ไม้ที่นำมาใช้ผลิตกลองได้คุณภาพเสียงดีที่สุด คือ ไม้ MAPLE  ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ผลิตกลองรุ่นสูงของแต่ละยี่ห้อเท่านั้น จะพูดว่า กลองชุดแต่ละรุ่นที่มีราคาแตกต่างกันนั้น หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่ ชนิดของไม้ที่ใช้ผลิตก็ว่าได้

หลายคนเข้าใจว่า ซื้อกลองอะไรก็ได้ แค่เปลี่ยนหนังกลองให้ดีขึ้น เสียงกลองก็จะดีขึ้น ..

        ความจริงนั่นก็เพียงแค่ส่วนหนึ่ง
 การเปลี่ยนหนังกลองที่ดีขึ้น มีส่วนช่วยทำให้กลองชุดนั้นๆเสียงดีขึ้น แต่จะดีขึ้นเท่าที่ไม้ของกลองชุดนั้นๆจะทำได้   
แต่การเปลี่ยนหนังกลอง ไม่ได้ทำให้เสียงกลองชุดหนึ่ง กลายเป็นอีกชุดหนึ่งไปได้  อธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น 
 " ถ้าเอาล้อรถแข่งมาใส่กับรถเก๋ง อาจทำให้รถเก๋งวิ่งเร็วขึ้นบ้าง แต่ก็ไม่ทำให้รถเก๋งกลายเป็นรถแข่งไปได้ "  



2.คุณภาพความทนทาน

         เราทราบกันดีอยู่แล้ว กลองเป็นเครื่องดนตรีประเภท ตี ต้องโดนแรงกระแทกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นคุณภาพของอุปกรณ์ ตั้งแต่ น็อตกลอง เกลียวกลอง ตัวล็อค จนไปถึง ขาตั้งส่วนต่างๆ ซึ่งสามารถเรียกรวมกันว่า HARDWARE ต้องมีคุณภาพดี ได้มาตราฐาน

การจะเลือก HARDWARE ว่าแข็งแรงหรือไม่นั้น เราสามารถพิจารณาได้จาก " ประเทศที่ผลิต  " ถ้าพิจารณากลองชุดระดับราคาไม่เกิน  1 แสนบาท ฐานการผลิตที่ส่วนมากจะอยู่ที่ประเทศไต้หวัน ซึ่งผลิต HARDWARE ออกมาคุณภาพดีกว่า HARDWARE ที่ผลิตจากประเทศอื่นๆ อย่างเช่น จีน หรือ อินโดนีเซีย ซึ่งมีราคาถูกกว่า

   การพิจาณาความแข็งแรงของ HARDWARE จากขนาดของท่อ HARDWARE ก็สามารถแยกแยะได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าคุณเคยเล่นกลองชุดมาก่อน คุณจะทราบว่า ปัญหาที่จะเกิดกับ HARDWARE มักไม่เกิดกับชิ้นส่วนที่เป็นท่อเหล็ก แต่จะพบปัญหามากในส่วนของข้อต่อต่างๆ ที่ต้องรับแรงกระแทกโดยตรงจากการตี หรือการใช้งาน

 เท่านี้ คุณก็ทราบข้อมูล ในการตัดสินใจซื้อกลองชุดของคุณได้แล้ว

-------------------------------------------------------------------------------------------------------


แต่ ถ้าคุณกำลังมองหากลองชุดคุณภาพดีสักชุด เราขอแนะนำ กลองชุด GRETSCH จากประเทศอเมริกา


บริษัท ธีระมิวสิค จำกัด ผู้นำเข้าและผู้แทนจำหน่าย

กลองชุดยี่ห้อ GRETSCH และ HARDWARE ยี่ห้อ GIBRALTAR ในประเทศไทย

   โดยได้นำเข้ากลองชุด GRETSCH หลากหลายรุ่น ซึ่งผลิตจากประเทศไต้หวัน (ยกเว้นรุ่น US.CUSTOM และรุ่น Artist ที่ผลิตจากประเทศอเมริกา) โดยกลองชุด GRTESCH ทุกรุ่น เลือกใช้ไม้ที่มีคุณภาพ หลายชนิด ให้เหมาะกับแนวเพลง และระดับราคา 

เพื่อคุณภาพที่ดี GRETSCH ยังเลือกใช้ HARDWARE ของยี่ห้อ GIBRALTAR ซึ่งผลิตจากประเทศไต้หวัน GIBRALTAR ซึ่งเป็นยี่ห้อที่ผลิต HARDWARE และอะไหล่กลองคุณภาพดีชนิดต่างๆ ออกมามากที่สุดยี่ห้อหนึ่ง และที่สำคัญ ราคาไม่แพง จึงได้รับความนิยมของมือกลองทั่วประเทศในปัจจุบัน คุณจึงสบายใจในเรื่องการหาอะไหล่ให้กลองชุด GRETSCH ของคุณได้


กลอง GRETSCH มีให้คุณเลือกได้หลายรุ่น หลายระดับราคา ตั้งแต่



* กลองชุด GRETSCH รุ่น BLACK HAWK ที่ผลิตจากไม้ MAHOGANY

http://www.youtube.com/watch?v=9i5Z98LpOBA

http://www.youtube.com/watch?v=NJ2nAlAgjoo



* กลองชุด GRETSCH รุ่น CATALINA BIRCH ที่ผลิตจากไม้ BIRCH

http://www.youtube.com/watch?v=mdvjvuLoclk



* กลองชุด GRETSCH รุ่น RENOWN MAPLE ที่ผลิตจากไม้ MAPLE

http://www.youtube.com/watch?v=mdvjvuLoclk 

http://www.youtube.com/watch?v=k1e-8U8Qnyw



และที่ได้รับความนิยม และขายดีมากที่สุดในตอนนี้ คือ 
* กลองชุด GRETSCH รุ่น CATALINA CLUB MOD

http://www.youtube.com/watch?v=U8MJHx7aMtw

http://www.youtube.com/watch?v=82UpXgyije8



แล้วคุณจะรู้ว่า " กลองชุดเสียงดี ไม่จำเป็นต้องราคาแพงเสมอไป "


กลองชุดยี่ห้อใหม่ล่าสุด กลองชุด DIXON เสียงดีที่สุด ในราคาประหยัดที่สุด

การตั้งเสียงกลองชุด

 การตั้งเสียงกลองเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างดังนี้
    1. ความตึงของหนังกลองด้านบน(Batter Head )
    2. ความตึงของหนังกลองด้านล่าง(Resonant Head )
    3. ความสัมพันธ์ระหว่าความตึงของหนังด้านบนและด้านล่าง
    4. ประเภทของหนังกลอง
    5.ประเภทของตัวถังกลอง
    6. การลดเสียงก้องจากหนังหรือตัวถัง
    เมื่อคุณจูนเสียงกลอง คุณกำลังตั้งให้ได้เสียงที่มีระดับสูงสุดหรือต่ำสุด ให้ได้น้ำเสียงที่ใสหรือเสียงที่ทุ้มต่ำ เพื่อให้เสียงดัง หรือเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวาลเกิดResonant ดังนั้นเพื่อให้เกิดเสียงที่มีคุณภาพ คุณต้องจัดการกับหนังทั้งสองด้านให้ดี
    ความลึกของตัวถัง และเส้นผ่าศูนย์กลางจะมีผลต่อการจูนเสียง โดยความลึกให้เสียงที่นุ่มและการเกิด Resonant รวมถึงความดังและความชัดเจนที่ดี ขณะที่ตัวถังบางให้เสียงที่สั้นและเกิดเสียงตอบสนองการตีได้เร็วกว่า ส่วนเส้นผ่าศูนย์กลางของตัวถังมีผลต่อระดับเสียงคือยิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางที่ ยาวย่อมให้เสียงที่ต่ำกว่า
    หนังกลอง
    กลองทุกชุดต้องมีหนังอย่างน้อย 1 ด้าน กลองที่มีหนังด้านเดียวจะให้เสียงที่แห้งๆ ลักษณะกระแทกๆ หนังส่วนที่เราตีเรียกว่าBatter ส่วนที่ไม่ได้ตีเรียกว่า Resonant หรือเรียกว่าหนังด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ หนังกลองเป็นแหล่งกำเนิดเสียงด่านแรกของกลอง ดังนั้นการเลือกใช้ให้เหมาะสม และการจูนเสียงเป็นสิ่งที่สำคัญ เช่นเดียวกันกับตัวถัง และโครงสร้างอื่นของกลอง มีผู้เชี่ยวชาญบางคนพูดว่า85% ของเสียงกลองมาจากหนัง ดังนั้นการเลือกใช้ที่ผิดจะทำให้เสียงของกลองคุณไม่ประทับใจค๊ะ หนังกลองในปัจจุบันทำจากMylar ซึ่งเป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ย้อนไปในอดีตหนังกลองส่วนใหญ่ทำจากหนังสัตว์เช่น ลูกวัว ช้าง แกะ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่ามีจุดอ่อนที่เสียงเพี้ยนง่ายเมื่อเจอความชื้นของ อากาศ ทำให้ต้องมีการจูนเสียงบ่อยๆ ขณะที่พลาสติก มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่าและเสียงไม่เพี้ยน บริษัทผู้ผลิตหนังกลองใหญ่ในปัจจุบันคือ Remo, Evans ,Ludwig โดยมีการผลิตหนังในประเภทและขนาดต่างๆกันสามารถจำแนกได้ดังนี้
    1. หนังชั้นเดียว เป็นหนังที่มี Mylar ชั้นเดียว ให้เสียงที่คมชัดเจน และให้เสียงที่สั่นออกมาดี แต่ไม่ค่อยทนทาน ไม่เหมาะกับคนที่เล่นเพลงหนักๆ หนังประเภทนี้ได้สุดที่รัก Remo Ambassadors และEvans G 1s ซึ่งเป็นหนังยอดนิยมที่ใช้ในห้องอัดเสียงหรือการใช้ไมค์มิกซ์เสียง
    2. หนังสองชั้น เป็นหนังที่มี Mylar 2 ชั้น หนังที่หนาขึ้นทำให้เสียงที่เกิดมีลักษณะที่แห้งกว่า เสียงสั้นน้อยกว่า แต่มีความคงทนเหมาะกับการเล่นเพลงแนวร๊อค หนังประเภทนี้ได้สุดที่รัก Remo Emperors และEvans G 2s
    3. Muffled เป็นหนังที่เหมาะกับงานหนักที่สุด ให้ลักษณะเสียงที่สุขุมแต่ไม่ค่อยมีน้ำหนักเท่าไหร่อาจเป็นเพราะโครงสร้าง ภายในที่ถูกผลิตขึ้นมา หนังประเภทนี้ได้สุดที่รัก Remo Pinstripes หรือEvans Genera
    4. HD ไฮดรอลิก เป็นหนังสองชั้นแต่มีชั้นน้ำมันอยู่ตรงกลาง ให้เสียงที่มีลักษณะอ้วนที่สุด มีความทนทาน ถ้าชอบเสียงแบบนี้ก็ต้องมองหา Evans Hydraulic ซึ่งบริษัทนี้ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการผลิตหนังประเภทนี้
    นอกจากนั้นหนังกลองยังมีประเภทเคลือบกับไม่เคลือบอีก หนังกลองเคลือบมีพื้นผิวที่หยาบกว่าช่วยลดเสียง Overtone ให้น้อยลง ให้เสียงที่มนๆกว่าไม่เคลือบ หนังเคลือบเหมาะกับการเล่นด้วยแส้ ส่วนในใบอื่นๆเช่นทอม ที่ไม่ค่อยใช้แส้ตี คุณอาจใช้หนังที่ไม่ต้องเคลือบก็ได้
    เมื่อใดที่ต้องเปลี่ยนหนัง ??
    ถ้าหนังกลองของคุณไม่สามารถจูนเสียงได้อีกแล้ว ก็ถึงเวลาต้องเปลี่ยน หรือที่เรียกว่าหนังมันตายแล้ว และต้องเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้งานหนังกลองมากแค่ไหน และขึงหนังตึงแค่ไหน ลองดูสัญญานที่บ่งบอกว่าถึงเวลานั้นแล้ว
    1. เมื่อส่วนที่เคลือบหนังไว้เริ่มหลุดออก
    2. เมื่อเกิดร่องลอยบนหนัง
    3. เมื่อหนังเมื่อถอดออกแล้วเกิดการบิดเบี้ยว
    4. เมื่อไม่สามารถจูนเสียงได้แล้ว โดยเฉพาะเสียงต่ำ
    5. เมื่อคุณตีแล้วเสียงไม่ค่อยออก
    6. เมื่อหนังเกิดหลุมจากการตี
    ลองดูไกไลด์ตรงนี้ค๊ะ เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่ใช้งานหนัก กลองถูกตีวันละหลายชั่วโมง ถ้าคุณเล่นวันละไม่มากวันละไม่กี่ชั่วโมง อาจยืดระยะเวลาออกไปจากนี้ หนังสแนร์บน เปลี่ยนทุกเดือน
    หนังสแนร์ด้านล่าง เปลี่ยนทุกสามเดือน หนังกลองใหญ่ด้านที่ตี เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
    หนังกลองใหญ่ด้านหน้า เปลี่ยนปีละครั้ง หนังกลองทอมด้านบน เปลี่ยนทุกสามถึงหกเดือน
    หนังกลองทอมด้านล่าง เปลี่ยนปีละครั้ง
    เมื่อต้องเปลี่ยนหนังกลอง คุณควรปฎิบัติตามขั้นตอนดังนี้ค๊ะ
    1. ถอดหนังอันเก่าออก
    2. ทำความสะอาดภายในกลองด้านใน ด้วยการเช็ดฝุ่น และคราบเปื้อนต่างๆออก
    3. ค่อยๆใส่หนังกลองอันใหม่ลง ให้แนบสนิทกับตัวถัง
    4. ใส่กรอบครอบหนัง
    5. ใส่น๊อตลงบนLug ใช้แค่มือหมุนก่อนนะค๊ะ
    6. ใช้กุญแจกลองค่อยขันน๊อตให้แน่น(วิธีการขันจะพูดในช่วงต่อไป)
    7. ปรับหนังให้แน่นกระชับกับตัวถัง ระหว่างนี้อาจเกิดเสียงกร๊อบแก๊บ ซึ่งเป็นธรรมชาติของหนังที่ปรับตัวตามความตึงที่เพิ่มขึ้น
    8. การจูนเสียงให้ถูกต้อง(จะพูดในช่วงต่อไป)

    การตั้งเสียงกลอง
    วิธีจูนเสียงกลองนั้นเหมือนกันในทุกๆใบ ไม่ว่าจะเป็นทอม สแนร์ หรือBass drum แต่สแนร์นั้นอาจมีวิธีจูนที่เป็นเอกภาพต่างหาก จะพูดต่อไปในอนาคตต่างหากค๊ะ หนังด้านบนมีไว้ถูกตีให้เกิดเสียงด้วยการสั่น ขณะที่หนังด้านล่างช่วยให้เกิดการResonant เกิดเสียงOvertone ดังนั้นหนังด้านล่างจึงมีความสำคัญไม่น้อยกว่าด้านบนเช่นกัน ในขณะที่จูนเสียงคุณต้องใช้กุญแจปรับความตึงของหนัง หนังยิ่งตึงยิ่งให้เสียงที่สูงขึ้น การขันน๊อตไม่ควรขันเรียงลำดับกันไป และไม่ควรขันให้แน่นในทีเดียว ควรเริ่มจากตำแหน่งที่หนึ่ง แต่ไม่ใช้ขันไล่ไปทวนเข็มหรือตามเข็มนาฬิกา แต่ตัวต่อไปต้องไขในตำแหน่งตรงกันข้ามกับตัวแรกด้วยแรงบิดที่เท่ากัน แล้วทำด้วยวิธีเดียวกันไปเรื่อยๆกับน๊อตที่เหลืออยู่ จนกลับมาที่น๊อตตัวแรกค่อยขันให้แน่นขึ้น แล้วขันไปในแรงบิดที่เท่ากันจนครบทุกตัว จากนั้นค่อยๆปรับหนังให้ตึงเท่าๆกัน ไม่มีตรงไหนหย่น ลองตีแล้วแล้วให้เสียงที่ต่ำๆเท่ากัน จากนั้นค่อยๆขันน๊อตขึ้นประมาณ1/4 รอบจนได้เสียงที่ถูกใจ ในส่วนหนังด้านล่างใช้วิธีการจูนเช่นเดียวกัน แต่จะต้องสัมพันธ์กับหนังด้านบน ซึ่งอาจจูนให้ได้ระดับเสียงที่ เท่ากับ สูงกว่า หรือต่ำกว่าหนังด้านบนก็ได้ คุณต้องลองตั้งดูแล้วเลือกเสียงที่ชอบค๊ะ เมื่อจูนเสียงได้แล้ว ก็จูนใบอื่นๆอีกให้เข้ากัน โดยทั่วไปกลองใบเล็กจะให้เสียงที่สูงกว่าใบใหญ่ คุณต้องตั้งเสียงกลองให้มีระดับเสียงที่ต่างกัน ซึ่งทอมแต่ละใบควรตั้งให้เสียงต่างกันเป็นคู่สามหรือคู่สี่ (คือเสียง โดกับมี หรือโดกับฟา) ซึ่งคุณควรทราบว่าการตั้งเสียงกลองไม่มีถูกหรือผิด มือกลองแต่ละคนมีวิธีต่างกัน การตั้งเสียงกลองที่สูงไป เสียงกลองจะไม่เป็นธรรมชาติ เสียงไม่ออก ตรงกันข้ามถ้าตั้งต่ำเกินไปเสียงจะหายไป ได้เสียงหย่อนๆยานๆ คุณจำเป็นต้องจูนให้ได้ในตำแหน่งที่ไพเราะของกลองชุดนั้นด้วยหูของคุณเอง
    การลดเสียงก้องของกลอง
    เสียงกลองเกิดจากResonant ของตัวถังและหนัง มือกลองบางคนชอบให้กลองออกเสียงก้อง ขณะที่บางคนไม่ชอบแต่ชอบเสียงแห้งๆ ถ้าต้องการแก้ปัญหาเสียงก้องควรจัดการดังนี้
    1. คลายน๊อตที่ขันหนังด้านบนลง 1/4-1/2 รอบ หรืออาจไปขันน๊อตหนังด้านล่างเพิ่มหรือลด การทำทั้งสองแบบนั้นเพื่อให้หนังด้านล่างและบนมีระดับเสียงที่ต่างกัน
    2. เปลี่ยนหนังครับ ถ้าคุณใช้หนังด้านอยู่เป็นชั้นเดียวอยู่ก็เปลี่ยนไปใช้หนังสองชั้น เช่น Remo Pinstripe

    ถ้ายังไม่พอใจต้องการเสียงที่ก้องน้อยลงอีก ก็ไปใช้ Evan Hydraulic หนังน้ำมันเลยครับ และถ้าเสียงที่ได้ยังไม่น่าพอใจอีกก็ต้องใช้เทคนิคการจูนแล้วค๊ะดังนี้
    1. ลองใช้เทปกาวติดบนหนังด้านบนลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน การลดเสียง ก้องมากๆอาจติดเทปกาวหลายๆชั้น
    2. ลองใช้กระดาษทิสชู ไม่ต้องแน่นครับลองใช้ขนาด และตำแหน่งการติดที่ต่างๆกัน
    3. ใช้แผ่นจูนเสียงที่มีขายอยู่ในท้องตลาดซึ่งทำจาก Mylar ลักษณะเป็นรูปตัวโอ หรืออาจทำเองไม่ต้องซื้อโดยใช้หนังกลองเก่าตัดเป็นตัวโอ การติดบนหนังอาจติดหลายวง หรือติดทับกันหลายๆชั้น
    4. ตัดแผ่นสักหลาดแล้วติดบนหนังทั้งด้านบนหรือด้านล่าง ทดลองดูทั้งสองทาง และขนาดที่ต่างๆกัน
    5. กรณีBass Drum เราใช้หมอนยัดเข้าไปข้างในแต่อย่าให้หมอนติดกับหนังนะค๊ะ
    ที่กล่าวไปเป็นแค่ไม่กี่วิธีในการจูน ผู้เขียนจำได้ว่าอาจารย์ที่สอนกลองคนแรกจูนเสียงกลอง สแนร์Ludwig ของเค้าด้วยการใช้กระเป๋าเงินติดบนหนังซึ่งเสียงที่ได้ก็ดีด้วย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักไว้คือการจูนเสียงเพื่อลดเสียงก้องมากไปนั้นไม่ดี เพราะเสียงมันจะเหมือนกับคุณกำลังตีโต๊ะอยู่ เสียงก้องนี่แหละทำให้เสียงกลองเป็นกลอง ดังนั้นจึงต้องให้มีเสียงก้องอยู่แต่ในจำนวนที่น้อย

    การจูนเสียงสแนร์
    การจูนเสียงสแนร์นั้นต่างจากการจูนเสียงทอมและBass Drum คุณต้องมีปัจจัยพิเศษอย่างหนึ่งที่ต้องพิจารณานั้นคือเจ้าเส้นสแนร์ที่ขึง สัมผัสอยู่กับหนังด้านล่าง(ขอเรียกหนังด้านล่างและเส้น สแนร์รวมว่าSnare Head นะค๊ะ)โดยส่วนใหญ่คุณมักขัน Snare Head ให้ตึงกว่าด้านบน ซึ่งมันจะให้เสียงสดใส กระชับกระเฉง ลดเสียงหึ่งๆที่ไม่ต้องการลง คุณสามารถปรับเสียงสแนร์ได้จากตัวปรับสายสแนร์ โดยถ้าปรับให้สายสแนร์หย่อนไปก็จะได้เสียงที่อึกกระทึกครึกโครม ถ้าแน่นไปเสียง สแนร์ก็จะอุดอู้เสียงไม่ออก คุณต้องปรับให้พอดีอยู่ระหว่างตรงกลางค๊ะ ลองดูเคล็ดลับในการตั้งเสียงสแนร์ตรงนี้ค๊ะ
    - เสียงสแนร์ที่แบน คุณต้องปรับ Snare Head ให้หย่อนที่สุดเท่าที่ทำได้ ขณะที่หนังด้านบนต้องค่อนข้างตึง
    - สำหรับเสียงที่ดังเปรี้ยงปร้าง คุณต้องจูน Snare Head ให้สูงกว่าหนังด้านล่าง 2-3 เสียง
    - สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและSnare Head ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน หรือจูนให้ Snare Head มีระดับเสียงที่สูงกว่าด้านบนเล็กน้อย
    หลังจากคุณจูนสแนร์ได้เสียงที่เพอร์เฟคแล้ว ปัญหาต่อไปที่คุณจะเจอคือเสียงการสั่นสะเทือนของ สแนร์ หรือเสียงหึ่งที่เกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดเสียงที่มีระดับเสียงเดียวกับเสียง สแนร์ของคุณ อาจเป็นจากกลองใบอื่น หรือเครื่องดนตรีชิ้นอื่นการแก้ปัญหาเสียงหึ่งมีหลายวิธีดังนี้
    1. ตั้งเสียงสแนร์ใหม่ทั้งหมด(การแก้ด้วยวิธีนี้จะเกิดปัญหาที่ตามมากับกลองใบอื่นๆในชุดอีก)
    2. คลายน๊อตที่ขันหนังให้หย่อนลงทั้งด้านบนและด้านล่าง
    3. ใช้ ไพ่หรือกระดาษทิสชู ใส่เข้าไประหว่างหนังด้านล่างและเส้นสแนร์
    จากประสบการณ์ของผู้เขียนอยากบอกว่าคุณจะต้องพบกับปัญหาเสียงหึ่งเสมอ แต่อยู่กับระดับที่ต่างกัน ในกรณีการเล่นสดการมิกซ์เสียงอาจช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ปัญหาจะหนักขึ้นกรณีในห้องอัดเสียง คุณอาจต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่สุดๆเช่นวิธีที่3 ที่กล่าวไปข้างต้น
    การจูนเสียงทอม
    ขณะที่ไกไลด์ทั่วไปสำหรับการจูนเสียงกลองสามารถประยุกต์ใช้ได้กับทอมใบเล็กหรือใบใหญ่ แต่ยังมีประเด็นเฉพาะที่ต้องกล่าวถึงอีกดังนี้
    1. สำหรับเสียงที่แบน คุณต้องปรับ หนังด้านล่างให้หย่อนกว่าหนังด้านบน
    2. สำหรับเสียงResonant สูงๆ คุณต้องตั้งหนังด้านบนและด้านล่าง ให้มีระดับเสียงที่เกือบจะเท่ากัน
    3. สำหรับเสียงที่เต็มๆ ดังควรใช้หนังด้านบนเป็นหนังน้ำมันสองชั้น(Hydraulic )
    4. เพื่อให้เกิดเสียงที่ดังมากขึ้นสำหรับหนังด้านบนที่เป็นหนังน้ำมันสองชั้น (Hydraulic ) ควรใช้หนังชั้นเดียวอย่างบางเป็นหนังด้านล่าง
    5. ในการลดเสียง Overtone ที่มากไปขณะที่ยังรักษาเสียงตีที่ดุดัน คุณต้องใช้หนังด้านบนเป็นหนังชั้นเดียว และใช้หนังด้านล่างแบบMuffled
    6. สำหรับเสียงทอมที่เข้ม ขณะที่ยังคงให้เสียง Resonant ต้องเปลี่ยนไปใช้หนังกลองประเภทสีดำทึบทั้งสองด้าน
    การจูน Bass Drum
    การเลือกใช้หนังกลองมีผลกระทบต่อเสียงที่เกิดขึ้นของกลอง ข้างล่างนี้เป็นรายละเอียดของเสียงBass Drum ที่จะเกิดขึ้นแยกตามหนังประเภทต่างๆดังนี้
    - เสียง Bass Drum เปิด มี Resonant สูง ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
    - เสียง Bass Drum ที่ดุดัน เปิด มีเสียงOvertone เล็กน้อย ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว ไม่ต้องมีอะไรจูนที่หนัง
    - เสียง Bass Drum ที่ดุดัน เป็นจุด ไม่กระจาย มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง เช่นเดียวกันกับหนังด้านหน้าเป็นชั้นเดียว และต้องมีการจูนที่หนัง
    - เสียง Bass Drum ที่ดุดัน มีเสียงOvertone ที่คุมได้ ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นชั้นเดียว ต้องมีการจูนที่หนัง ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
    - เสียงกระแทกๆ เป็นจุด ไม่มีเสียงOvertone ใช้หนังด้านที่เหยียบเป็นหนัง 2 ชั้น หรือเป็นหนัง Hydraulic ขณะที่หนังด้านหน้าใช้เป็นหนัง 2 ชั้น
    นอกจากนี้ยังมีประเด็นเพิ่มเติม ในการจูนเสียง Bass Drum ดังนี้
    - ในการจูนให้เกิดระดับเสียงที่สูง ก็จะให้เสียงกลองที่กระแทกๆมากขึ้น
    - สำหรับเสียงกระแทกที่มากยิ่งขึ้น จูนหนังด้านหน้าให้ตึงกว่าหนังด้านที่เหยียบ
    - สำหรับเสียงกลองที่ใหญ่ๆ จูนหนังด้านหน้าให้หย่อนมากที่สุดแต่ไม่ถึงขนาดเป็นเสียง แฟล๊บๆ
    - ถ้าจะลดเสียงOvertone ให้ใส่ ผ้าห่มหรือหมอนเข้าไปในกลอง หรือโดยการติดเทปสักหลาด ตรงกลางของหนังด้านที่เหยียบ
    - การเจาะรูตรงหนังด้านหน้าเพื่อลดเสียงก้อง ต้องมั่นใจว่ารูดังกล่าวต้องไม่อยู่ตรงจุดกึ่งกลางและเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 8 นิ้ว
    - การทำให้เกิดเสียง Resonant ที่มากขึ้นโดยการปรับเดือยที่ Bass Drum ให้กลองยกสูงจากพื้นมากที่สุด
    จากที่กล่าวไปทั้งหมดเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุด แต่การจูนเสียงกลองนั้นเป็นศิลปะมากกว่าวิทยาศาสตร์ ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือต้องลองจูนในส่วนผสมที่ต่างๆกัน จากนั้นเลือกส่วนผสมที่ให้เสียงที่ดีที่สุดสำหรับสไตล์เพลงของคุณหรือ ดีที่สุดในสถานะการณ์ขณะนั้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลองชุด




            กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย  มีความหมายถึง  กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum  หรือ Jass Drum  ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน  คือ  การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ  คำว่า  “แจ๊ส (Jass)  หมายถึง  ดนตรีแจ๊ส  ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง  จึงเรียกว่า  Jass Drum  และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming  หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
            กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ  และฉาบหลายอันมารวมกัน  โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่  วงคอมโบ้ (Combo)  วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)  ฯลฯ
            กลอง  จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด  ในอดีตมนุษย์
ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ  จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า  แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี  สำหรับการเต้นรำ  คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการ
บรรเลง  โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก  โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง  การบันทึก
บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ  ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน  เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น  การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก  โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
            ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม  พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ  จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด  ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น  การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime)  ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น  ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว  และรวบรัดชวนให้เต้นรำ
สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ  แต่นักตีกลองส่วนใหญ่  โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธ
ของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ  และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ
แร็กไทม์ว่า  “ของปลอม”  เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง  ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญก็คือ  สามารถบรรเลงได้อย่าง
ดีเยี่ยม
            ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920  ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดา
นักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง  จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง  แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้
สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อนหรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่อง
เครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า
            ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass)  จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า  การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes)  หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่”  นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1935  จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing)  เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ  นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด  เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo)  ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี  ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
            จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนาขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ได้รับความนิยม  การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้  เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการอย่างดีอีกด้วย
            ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก  นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ  รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก  และสงคราม  ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo)  เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop)  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque)  คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง  โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน  แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat)  อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง  มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
            จังหวะต่างๆที่นิยมบรรเลง  ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะ
ก็หายสาบสูญไป  เพราะไม่ได้รับความนิยม  แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆเข้ามาแทนที่ส่วนประกอบของกลองชุด            กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้  วงสตริงคอมโบ้  ฯลฯ  กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
            1.  กลองใหญ่ (Bass Drum) 
            กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22 นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง  เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่  เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal)  ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว  สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
            2. กลองเล็ก (Snare Drum) 
            กลองเล็ก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ  หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน  สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่  โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา  กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน  และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill)  ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
            3.  ฉาบ (Cymbals) 
            ฉาบ  เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ  และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ  เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า  บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
            4.  ไฮแฮท (Hi Hat) 
            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง  โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ  เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน  ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
            5.  ทอม ทอม (Tom Tom) 
            ทอม ทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo)  เพื่อสร้างความรู้สึก  การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้  ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
            6.  ฟลอร์ทอม (Floor Tom) 
            ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม  มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม  แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม  โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง       16  x 16 นิ้ว
 

ประเภทของกีตาร์

1. กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
 1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
 
 1.2 กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกันในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
 


2. Arch top กีตาร เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส
 




3. Semi Acoustic กีตาร เป็นกีตาร์ที่มีลักษณะครึ่ง ๆ หรือลูกผสมระหว่างกีตาร์โปร่งกับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ไม่ใช่กีตาร์ดปร่งไฟฟ้านะครับ กีตาร์โปร่งไฟฟ้าก็คือกีตาร์โปร่งที่ได้มีการประกอบเอา pick up (ที่เราเรียกกันว่าคอนแทคนั่นแหละครับ) ประกอบเข้าไปกับตัวกีตาร์โปร่งทำให้สามารถต่อสายจากกีตาร์เข้าเครื่องขยายได้โดยตรง ไม่ต้องเอาไมค์มาจ่อที่กีตาร์หรือไม่ต้องไปซื้อ pick up มาต่อต่างหาก แต่ Semi Acoustic กีตาร์จะมีลำตัวโปร่ง และแบนราบ แต่จะมี pick up ติดอยู่บนลำตัว และมักจะมีช่องเสียงเป็นรูปตัว f เช่นเดียวกับแบบ arch top ซึ่งทำให้กีตาร์ประเภทนี้มีคุณสมบัติของกีตาร์โปร่งคือเล่นแบบไม่ต่อเครื่องขยายก็ได้หรือจะต่อเครื่องขยายก็สามารถเล่นได้เช่นเดียวกับกีตาร์ไฟฟ้า ส่วนใหญ่กีตาร์ประเภทนี้มักจะพบว่าใช้ในดนตรีบลูส์ หรือดนตรีแจ๊สเป็นส่วนมาก
       




4. Solid Body Electric กีตาร์ ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย(แอมป์นั่นแหละครับ)มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้ ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้

 


5. Resonator กีตาร์ หรือ Resophonic กีตาร์ เป็นกีตาร์อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า dobro มีลักษณะเด่นคืออาศัย resonatorซึ่งจะทำให้เกิดเสียง resonance หรือขยายเสียงให้ดังโดยทำให้เกิด resonance มีทั้งแบบ tri-plate resonator คือมีเจ้า resonator 3 แผ่น และแบบ single-resonator คือมี resonator แผ่นเดียวนั่นเอง โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะทำด้วยโลหะ   สำหรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ใช้สไลด์เช่นพวกเดลต้าบลูส์ หรือประเภทบลูกลาส ( bluegrass ) โดยใช้ไสลด์กีตาร์ หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวาย
 



6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก   คอนเสิร์ทของ The Eagles ซึ่งมีการใช้เจ้ากีตาร์ประเภทนี้อยู่ด้วยในบางเพลงเล่นโดย don felder ส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์ ดูจากรูป
 



7. กีตาร์แบบอื่น ๆ นอกจากกีตาร์ประเภทต่าง ๆ ที่กล่าวมาด้านบนแล้ว ยังมีกีตาร์แบบพิเศษอื่น ๆ ซึ่งอาจจะทำขึ้นมาเพื่อประโยชน์เฉพาะประเภท หรือเล่นเป็นพิเศษกับเพลงนี้โดยเฉพาะ เราจะไม่ค่อยเห็นมากนักเช่นกีตาร์ที่มีจำนวนสายแปลก ๆ มีรูปร่างแปลก ๆ เช่นกีตาร์ 7 สาย กีตาร์ Harmony Sovereigh แบบ 9 สาย กีตาร์ที่ใช้สายของกีตาร์เบสประกอบด้วย กีตาร์ 2 คอ กีตาร์ 2 คอรูปตัว V หรือ 4 คอ รูปตัว X เป็นต้น
 

Jimi Hrendrix เทพเจ้ามือซ้าย พ่อมดแห่งกีตาร์ไฟฟ้า

Jimi Hrendrix เทพเจ้ามือซ้าย พ่อมดแห่งกีตาร์ไฟฟ้า


  
      หากใครที่เล่นกีตาร์หรือเป็นนักฟังชั้นเทพ คงไม่มีใครที่จะปฏิเสธว่าไม่รู้จักชายผู้นี้ เขาคือชายผู้สร้างตำนานที่ Woodstock อัจริยะผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าคืออันดับ 1 เเห่งวงการกีตาร์ ผู้ถูกร่ำลือว่าได้ขายวิญญาณให้กับซาตานอีกคนหนึ่ง
  Jimi Hendrix มีชื่อจริง ๆ ว่า จอห์นนี อัลเลน เฮนดริกซ์ เกิดวันที่ 27 พฤศจิกายน 1942 เป็นลูกของ Al Hendrix (อัล เฮนดริกซ์)ซึ่งในตอนเด็กพ่อของเขากำลังรับราชการทหารอยู่ ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เขาจึงต้องไปอยู่ตามบ้านญาติ ๆ เมื่อเขาอายุ 5 ขวบพ่อเขาก็พาไปเลี่ยนชื่อเป็น James marshell Hendrix (เจมส์ มาร์แชลล์ เฮนดริกซ์) ในวันที่ 11 กันยายน 1946 แต่เขากลับชอบเรียกตัวเองว่า จิมมี่เขาเริ่มฟังเพลงตามแผ่นเสียงที่พ่อของเขาสะสม และเริ่มเล่นกีตาร์คูสติค ( Acoustic Guitar)เมื่ออายุ 10 ขวบ
    เมื่อย่างเข้าวัยรุ่น พ่อของเขาตัดสินใจขาย Saxsophone ของเขาเพื่อนำเงินไปซื้อกีตาร์ไฟฟ้า Supro Ozark สีขาว ตัวหนึ่งเป็นของขวัญ เขาเริ่มศึกษางานของเหล่ามือกีตาร์ Bluse เช่น B.B.King , Muddy Waters ต่อมาได้ไปเล่น Back up ในตำแหน่งกีตาร์ให้กับศิลปินหลายท่าน เช่น Ting Turner , Little Richard และ B.B.King
จนเมื่อปี 1959 เขาจึงตั้งวงดนตรีแรกของเขาขึ้น โดยใช้ชื่อว่า Rocking Kings จากนั้นเขาก็ไปเป็นทหารพลร่ม จนเมื่อปี 1961 ได้ลาออกจากราชการทหาร และหันมาทุ่มเทเวลาให้ดนตรีอย่างจริงจังและได้ออกเดินทางเล่นดนตรีไปทั่วสหรัฐฯ
ในปี 1965 เขาได้ตั้งวงใหม่ของเขาขึ้นโดยใช้ชื่อว่า Jimmy James And The Blues Flames ในวันที่ 5 กรกฎาคม 1966 วงดนตรีของเขาได้เดินทางไปเล่นยังร้านค้าแห่งหนึ่งในนิวยอร์ก เขาได้เจอกับ ชาส แชนเลอร์ สมาชิกวง The Animals เชนเลอร์ประทับใจการเล่นกีตาร์ของเขามาก แชนเลอร์เดินทางไปอังกฤษกับ Hendrix จนในเดือนตุลาคมปี 1966 ได้มีการคัดเลือกเอา Noel Redding(โนเอล เรดดิง)มาเล่นเบส และMitch Mitchell(มิตช์ มิตเชล มาเล่นกลอง) และก็กลายมาเป็นวง The Jimi Hendrix Experience พร้อมกับออกอัลบัมแรกกับสังกัด Polydor ชื่อ Are You Experienced? มาในช่วงปลายเดือน ธันวาคม 1967 อัลบัมชุดนี้ก็กลายเป็นอัลบัมในตำนานไปแล้ว ในวันที่ 18 มิถุนายน 1967 เขาเดินทางกลับสหรัฐฯ และได้ไปแสดงที่เทศกาลดนตรี Monterey International Pop Festival หลังจากวันนั้นชื่อ Jimi Hendrix ก็ได้โดงดังไปทั่วและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ในเดือนมกราคมปีต่อมา ก็ได้ออกอัลบัมชุดที่ 2 ชื่อ Axis:Bold As Love และออกอัลบัมชุดที่ 3 ในเดือนตุลาคมปี 1968 โดยใช้ชื่อว่า Electric Ladyland ในชุดนี้มี 2 แบบคือ 1.แบบ Censored 2.แบบ Uncensoredหลังจากนั้นประมาณ 1 ปีวง The Jimi Hendrix Experience ได้ปิดตัวลงหลังจากการเล่นคอนเสิร์ตร่วมกันครั้งสุดท้ายที่ไมล์ไฮสเตเดียม ที่แดนเวอร์ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 1969แต่ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน (1969)เขาก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมาใหม่อีกครั้งในชื่อ Gypsys Suns and Rainbows เพื่อเล่นในเทศกาลดนตรี Woodstock Music and Art Fair

Robert Johnson ผู้ขายวิญญาณให้ซาตานเพื่อแลกกับอำนาจการบรรเลงเพลงบลูส์


ชื่อเสียงของนักดนตรีผิวสีคนนี้ โรเบิร์ต จอห์นสัน (Robert Johnson) เป็นที่เลื่องลือมานานแล้ว ความลึกลับที่คนเล่นกีตาร์ไม่ได้เรื่องกลับเล่นกีต้า ร์บูลส์ได้ดียิ่งกว่ามืออาชีพ ภายในระยะเวลา40วัน ทำให้เขากลายเป็นผู้ลบล้างทฤษฎีที่ว่า การฝึกฝนเพื่อที่จะร้องและเล่นกีต้าร์บูลส์ให้ได้ยอด เยี่ยมจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการและเวลายาวนาน ถูกโยนทิ้งตกไปจากความเชื่อของใครหลายคนที่รู้จักเรื ่องราวของเขา
สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้คนรุ่นต่อมาคือการบันทึกบทเพลงท ั้งสิ้น 29 เพลงในช่วงระหว่างปี 1936 – 1937 ที่ใช้เวลาในการบันทึกเพียงไม่กี่วัน งานเพลงบูลส์ (Blues) ที่เขาทิ้งไว้ให้ศิลปินรุ่นหลังๆ ได้ไถ่ถามเรียนรู้ ล้วนเต็มไปด้วยพลังและจิตวิญญาณชนิดที่นักดนตรีบูลส์ ทุกคนต้องฟัง...บางคนถึงขนาดกล่าวว่า ฝีมือกีต้าร์ของเขานั้นว่ามหัศจรรย์แล้ว แต่เสียงร้องของเขานั้นมหัศจรรย์ยิ่งกว่า..เพราะมันเ หมือนกับเสียงของบางสิ่งบางอย่างที่อธิบายไม่ได้...
มรดกแห่งความสามารถที่เขาทิ้งไว้ให้รุ่นหลังได้ศึกษา คือบทเพลงที่ได้รับการบันทึกเอาไว้ 29 เพลง ทั้งหมดใช้เวลาบันทึกจริงๆเพียง 5 วันเต็มเท่านั้น 3 วันแรกบันทึกใน San Antonio เมื่อพฤศจิกาปี 1936 อีก 2 วันที่เหลือบันทึกที่ Dallas ในอีก 7 เดือนให้หลัง แต่งานเหล่านั้นก็กระจัดกระจายนับแต่นั้น เมื่อเข้าทศวรรษ 60 งานเหล่านี้จึงได้ถูกนำมารวบรวมอีกครั้ง นั่นคือไม่ต่ำกว่า 23 ปีที่เจ้าของผลงานได้จากไปแล้ว King Of The Delta Blues Singer Volume I และ II เป็นอัลบั้มที่ถูกกล่าวขานว่า นักดนตรีบลูส์ทุกคนต้องฟังมันกลายเป็นลัทธิให้บรรดานักดนตรีอย่าง Keith Richards(The Rolling Stones), Eric Clapton, Brain Jones, Johnny Winter , Bob Dylan เป็นต้น บางคนให้นิยามว่าฝีมือกีตาร์ของเขามหัศจรรย์พันลึก แต่เสียงร้องมหัศจรรย์ยิ่งกว่า มันเหมือนสายลมอันเย็นยะเยือกที่ครวญครางหวีดหวิวเมื ่อมันเคลื่อนตัวผ่านสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Mississipi”
บางคนอธิบายว่าเสียงร้องเขาเหมือนกับเสียงบางอย่างท ี่คุณมักจะได้ยินในป่าลึกเวลาที่คุณอยู่เพียงลำพัง และมันเป็นเสียงที่คุณไม่มีทางอธิบายได้ว่า เป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากอะไร มีต้นตอมาจากไหน
เขาเกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 1911บริเวณลุ่มน้ามิสซิสซิปปี และเสียงดนตรีก็เป็นสิ่งที่เขาสนใจมาเนิ่นนาน เครื่องดนตรีชิ้นแรกในชีวิตเขาก็คือ !บเพลงปาก และ ฮาโมนิกา ก่อนที่เขาจะหันมาเอาดีทางด้านกีต้าร์
เริ่มต้นเรื่องราวจากปากคำของผู้เฒ่าแห่งดนตรีบลูส์ ว่า Robert Johnson ในวัยรุ่นเล่นกีตาร์ได้ไม่ดีนัก สิ่งที่เขาเชี่ยวชาญคือฮาโมนิก้า เพื่อนบ้านที่สำคัญของเขา 2 คน คือนักดนตรีบลูส์รุ่นใหญ่ Willie Brown และ Son House แนะนำให้เขามุ่งมั่นกับฮาโมนิก้าจะดีกว่า เพราสิ่งที่เขาแสดงออกเกี่ยวกับกีตาร์นั้นเป็นเรื่อง พื้นๆ แถมยังดูออกด้วยว่าไม่มีทางไปไหนได้ไกลหากยังดันทุรั งอยู่กับกีตาร์ต่อไป
แล้ว Robert ก็กลับมาหลังจากที่หายไป 40 วันอย่างที่ไม่มีใครได้รับข่าวใดๆทั้งสิ้น เขาปรากฎตัวที่บาร์เล็ก ที่ที่ซึ่ง Willie Brown และ Son House เล่นประจำอยู่ โดยมีกีตาร์สะพายอยู่บนไหล่ เขาได้ขึ้นโชว์ 2-3 เพลง มันกลายเป็นความตื่นตะหนกแก่ผู้เฒ่าทั้งสอง
Robert หายไปด้วยฝีมืออ่อนหัด และกลับมาด้วยฝีมือระดับ Grand Master!! ระหว่างสองจุดนี้ห่างกันเพียงไม่กี่วัน ต่อให้เขาใช้เวลาทั้งหมดที่หายไปฝึกฝนโดยไม่หยุดก็ไมมีทางไปได้ถึงขนาดนั้น
โดยสรุปก็คือเขาต้องค้นพบพลังอำนาจบางอย่าง ความเก่งกาจของเขาได้รับการยืนยันจากคนใกล้ชิดเขาที่ สุด 2 คน คือ Robert “Junior” Lockwood และ Johny Shines ทั้งสองเล่าว่าเขามีความสามารถระดับที่ว่า เมื่อเขาฟังเพลงซักเพลงจากวิทยุหรือเครื่องเล่นแผ่นเ สียงจบลง เขาจะเล่นเพลงๆนั้นได้ทันทีและอย่างสมบูรณ์ด้วยแม้จะ เห็นอยู่ว่าเขาไม่ได้สนใจหรือตั้งใจฟังซักเท่าไหร่
ถึงวันนี้ยังไม่มีมือกีตาร์บลูส์คนใดกล้ากว่าวอ้างว่ เขาสามารถเล่นคันทรี่และเดลต้าบลูส์ ได้ดีเท่า Robert Johnson “ ไม่มีเลย…29 เพลง เมื่อก่อนปี 1937 Robert ทำได้อย่างไร? ฝีมือของเขาควรตั้งอยู่ระดับไหน
ปี 1938 Robert จากโลกนี้ไปด้วยด้วยการดื่มวิสกี้ผสมยาพิษ โดยไม่มีใครบอกได้ว่าเขาอายุเท่าใด (ประมาณกันว่า 26 ) เพราะวันเดือนปีเกิดของเขาไม่ได้รับการยืนยันแน่นอน เพียงคะเนจากภาพถ่าย แต่เชื่อไหม? มีเพียง 3 ภาพที่ได้รับการยืนยันว่าคือภาพของ Robert จริงๆ ที่เหลือเพียงอาจจะใช่ หรือ ควรจะใช่ ทั้งสิ้น
การพิสูจน์ในเวลาต่อมาพบว่าเขาผสมและดื่มวิสกี้แก้วน ั้นด้วยตนเองบางทีนั่นคือช่วงเวลาที่สัญญาถึงเวลาทวงถามและได้รับการสะสาง

เรื่องที่ถูกกล่าวขวัญมากที่สุดคือ Robert ขายวิญญาณให้ซาตานเพื่อแลกกับฝีมืออันเอกอุตรงบริเวณ สี่แยกที่เรียกว่า Delta Crossroad ใน Mississipi!! ซึ่งในภาพยนตร์ Crossroads(1996) ก็ใช้บริเวณนี้เป็นฉากจริง


มีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับเนื้อเพลงของเขาซึ่ง Steve Lavere ผู้ค้นคว้าเรื่องของ Robert Johnson และเป็นเจ้าของรูปของเขา 2 ใน 3 รูป บอกไว้ว่าในเพลง “Me And The Devil” มีเนื้อร้องประโยคหนึ่งว่า“Hello Satan, I Believe It’s Time To Go” แต่ต้องฟังให้ดีจึงจะพบ การเขียนคำร้องของ Robert นั้นมักชอบที่จะพาดพิงถึงบรรดาภูติผีปีศาจทั้งทางตรง และทางอ้อมอยู่เสมอ เช่นอีกท่อนหนึ่งในเพลง “Cross Road Blues“กล่าวว่า ” Went to the crossroad, fell down on my knees, Asked the Lord above “Have mercy, now save poor Bob, if you please” ฉะนั้นเมื่อไม่มีใครอธิบายสาเหตุอะไรได้ เรื่องราวจึงถูกโยนไปให้ คำสัญญาที่เขาให้ไว้กับใครซักคน ในคืนอันมืดมิดและเดียวดาย ที่ Delta Crossroad”

Eric Clapton เคยกล่าวถึงงานของ Robert ว่า เขามีพลังมากเกินไป มันหมายถึงเจตนาอันแรงกล้าในงานของเขา ความขบถของเขา เขาเหมือนหมาป่าโดดเดี่ยวแต่สวยงาม

Keith Richads กล่าวว่าถ้าผมสามารถกล่าวออกมาเป็นคำพูดได้ ผมคงยินดีมาก แต่มันไม่อาจจะทำให้คุณเกิดความรู้สึกอยากฟังงานของ Robert Johnson เพิ่มขึ้นก็เป็นได้ แต่ผมจะบอกว่าถ้าคุณต้องการฟังดนตรีที่ยิ่งใหญ่ คุณต้องฟังงานของชายคนนี้

ทุกวันนี้เพลงของ Robert Johnson ยังคงถูกนำมาเล่นมาตีความครั้งแล้วครั้งเล่า

IF “ClAPTON IS GOD” THEN “ROBERT JOHNSON IS GOD OF GOD!”

นี่คือคำจำกัดความสั้นๆจากนิตยสาร “Q” แห่งอังกฤษ